การแปลเอกสารเพื่อส่งตีพิมพ์ ต้องทำอย่างไร
หาแหล่งสำนักงานแปลภาษา แปลงานวิจัย ที่น่าเชื่อถือ
หลังจากที่คุณทุ่มเททำงานวิจัยมาอย่างหนักหน่วงแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณต้องตีพิมพ์งานวิจัยหรือส่งงานวิจัยตีพิมพ์ลงวารสารเป็นภาษาต่างประเทศ บางท่านอาจจะหนักใจเพราะตนเองไม่มีความถนัดทางด้านภาษามากนัก แต่ปัญหานี้จะหมดไปเพราะในปัจจุบันมีบริษัทหรือสำนักงานที่รับแปลภาษา แปลงานวิจัย แปลเอกสารบทคัดย่อ abstract เป็นภาษาต่างประเทศให้คุณเลือกใช้อยู่หลายที่ ซึ่งมีสิ่งที่คุณควรใช้พิจารณาในการเลือกใช้บริการ ดังต่อไปนี้ค่ะ
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นควรมีนักแปลที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นสามารถส่งงานของคุณให้ Editor เจ้าของภาษาตรวจ เพื่อจะได้ชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์แบบและถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแปลศัพท์เทคนิคซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษรอบรู้เกี่ยวกับสาขาวิชานั้นๆ
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นควรมีความรู้จริงด้านการทำงานวิจัย เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำคุณให้ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นสามารถช่วยแก้งานของคุณให้ผ่านตามมาตรฐานการเขียนงานวิจัยได้
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นต้องมีความจริงใจในการช่วยเหลือเมื่อคุณติดปัญหาหรือต้องการคำปรึกษา
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นควรคิดค่าบริการด้วยราคายุติธรรม
- บริษัทหรือสำนักงานแปลนั้นควรเป็นที่รู้จักหรือมีผลงานอ้างอิงในการทำงานที่น่าเชื่อถือ
และเมื่องานวิจัยของคุณถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศตามที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว คุณอาจจะมีคำถามต่อไปว่า แล้วจะตีพิมพ์งานวิจัย ที่ไหนดี ซึ่งก็มีหลักเกณฑ์การพิจารณาในการเลือกวารสารที่จะนำงานวิจัยของคุณไปตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ ดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยนั้น คุณควรเลือกพิจารณาวารสารที่มีศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของคุณ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวารสารของมหาวิทยาลัย โดยให้พิจารณาว่างานวิจัยของคุณมีหัวข้อใดที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของวารสารบ้าง เพื่องานวิจัยของคุณจะได้ตรงกับความสนใจและตรงกับกลุ่มผู้อ่านซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่คุณได้วางเอาไว้
2. ให้พิจารณาดูว่าจุดประสงค์ของคุณต้องการที่จะเผยแพร่งานวิจัยเพียงอย่างเดียว หรือต้องการเผยแพร่เพื่อนำไปประกอบการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการซึ่งต้องไปดูระเบียบข้อบังคับว่าวารสารนั้นอยู่ในฐาน TCI1 หรือ 2 หรือไม่
3. ก่อนที่งานของคุณจะถูกตีพิมพ์ลงวารสารให้นำงานวิจัยของคุณไปตรวจ อักขราวิสุทธิ์ เพื่อกันการลอกเลียนแบบทางภาษาเป็นการป้องการการคัดลอกผลงานของบุคคลอื่น จากนั้นจึงส่งให้กองบรรณาธิการของวารสารไปพิจารณา ซึ่งทางกองบรรณาธิการจะพิจารณาส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่างานของคุณควรได้รับการตีพิมพ์หรือไม่
ตรวจสอบบทความวิจัยว่ามีองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำไปตีพิพม์
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก่อนจะถึงกระบวนการเหล่านี้ คุณเองต้องมีความมั่นใจว่าผลงานวิจัยของคุณได้นำมาทำเป็นบทความวิจัยที่ได้มาตรฐานสำหรับการตีพิมพ์ลงวารสารแล้วจริงๆ โดยขอให้คุณกลับไปพิจารณาดูว่า บทความวิจัยของคุณมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามข้อต่อไปนี้หรือไม่
1. มีบทคัดย่อ Abstract ที่มีความชัดเจนตามวัตถุประสงค์การทำวิจัยหรือไม่
2. เนื้อเรื่อง มีบทนำซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของงานวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตลอดถึงกรอบแนวคิดในการวิจัย มีความละเอียดชัดเจนดีหรือไม่อย่างไร
3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีความทันสมัยและมีเรื่องราวที่ครอบคลุมงานวิจัยดีแล้วหรือไม่
4. กระบวนการทำงานวิจัย ต้องมีความชัดเจน โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่สมบูรณ์ดีแล้วหรือไม่
5. มีสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานสมบูรณ์ดีแล้วใช่หรือไม่
6. ผลการศึกษาและการอภิปรายผลออกมาเป็นอย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่
7. พิจารณาถึงประโยชน์ในการนำงานวิจัยไปใช้มีความสมบูรณ์ดีแล้วหรือไม่
8. มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจนำงานวิจัยนี้ไปใช้ต่อในอนาคตหรือไม่
9. มีเอกสารอ้างอิงที่ตรงกับที่ใช้อ้างในเนื้อความหรือไม่
ซึ่งเมื่อคุณพิจารณาว่างานวิจัยของคุณมีทุกอย่างครบถ้วนตามหัวข้อข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว คราวนี้คุณก็คงพร้อมแล้วที่จะนำงานวิจัยนั้นไปแปลเพื่อที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยนั้นลงวารสารให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลต่อไป